Research


                  

The Research

         "Improving Matthayomsuksa 1 Students’ Listening Skill by Using Listening Log"


The Researcher           Nattida  Yotha             
                                   Wipada  Ketkowit              
                                   Kasemkit  Koodsai
                                   Watchamon  Sanpueng      
                                  Sakunrat   Koomaronratanakul
ADVISOR                Assoc.  Prof.  Dr.  Thoopthong  Kwangsawad
DEGREE                  B.Ed.    MAJOR          English  Education
UNIVERSITY         Mahasarakham  University       


ABSTRACT

         We spend a great deal of time in our everyday lives listening in different situation: not only to the television or radio, to people we live with, colleagues at work, and family on the phone; we also listen to the recorded voice as we top up our mobile, the lady in the shop, and the couple behind us on the bus. As native speakers (NSs) –of whatever language–all these situations are normal and usually go by without us consciously thinking about them as ‘listening’ situations at all. Not so for L2 learners. Each of these can be a trial, challenge, disaster, or achievement. And each is an important opportunity.
            Many learners find themselves in the L2 community at some stage: they may be studying, working, or seeking employment, or they may be just travelling. In any event, they are surrounded by far more opportunities for development than the classroom could ever offer. But opportunity is not enough: listening is an active process, requiring both conscious attention and involvement, and therefore motivation (Rost 2002).  As language teachers, our goal should be to provide these learners not only with transferable skills but also with guidance, to raise their awareness and enable them to become independent learners who are able to exploit the potential learning situations in which they find themselves.

ALL DOWNLOAD FILE :  Listening log 1    Listening Log 2  Listening log 3  Listening log 4 



บทที่ 1
ภูมิหลัง


               การฟังเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องการความใส่ใจและสนใจ รวมทั้งการสร้างแรงกระตุ้น จึงเป็นโอกาสที่เหมาะที่จะพัฒนา (Rost.  2002  :  Web  Site) แต่จะเป็นเรื่องยากสำหรับการประมวลการสอนภายในห้องเรียนเพื่อที่จะกระตุ้นนักเรียนตลอดเวลา อย่างไรก็ตามนักเรียนสามารถเลือกสิ่งที่ตัวเองอยากจะฟังได้ ต่อมาก็กลายเป็นการสนใจจดจ่อกับสิ่งนั้นเพราะนักเรียนมีแรงกระตุ้นเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง การฟังที่มีประสิทธิภาพเป็นทักษะการสื่อสารที่มีความสำคัญมากที่สุดและสิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการปรับปรุงพัฒนาตัวนักเรียนเอง เพื่อให้ประสบความสำเร็จได้เมื่อมีการเข้าร่วมการสนทนาเป็นเรื่องง่ายที่จะให้ความสนใจว่าคู่สนทนาพูดอะไร พวกเขาจะเสียสมาธิได้ง่ายๆถ้าเพ่งความสนใจไปที่เรื่องอื่นหรือเรื่องรอบๆตัวขณะฟังผู้อื่นพูด หรือแม้แต่คิดว่าจะพูดอะไรต่อไปก็ทำให้เสียสมาธิได้เจอกัน     (Garry.  2005  :  Web  Site) ผู้เรียนภาษาที่สองจะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเจาะลึกในรายละเอียดในลักษณะจากบนลงล่างในขั้นต้น ในขณะที่การฟังเป็นไปอย่างราบรื่นโดยอาศัยกลยุทธ์การเจาะลึกในรายละเอียดในลักษณะจากล่างลงบน (Richards.  1990  :  33f) ความสำคัญของทักษะจะอยู่ที่การจดจำและวิเคราะห์คำที่ได้ยิน การมีสติกับการระบุขอบเขตของคำและรูปแบบของการพูดแบบเชื่อมคำ  (Rost.  2002  :  Web  Site)
                การที่นักเรียนสามารถรับมือกับเสียงรบกวนต่างๆนั้นเป็นทักษะอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถถ่ายโอนจากภาษาที่หนึ่งและสร้างขึ้นพร้อมกับการฟังของนักเรียนและทักษะในวิชาทั่วๆไปได้ แต่หลายคนไม่สามารถส่งสารที่เป็นภาษาที่สองผ่านทักษะได้อย่างง่ายดาย กลวิธีหนึ่งที่แก้ปัญหานี้ในภาษาอังกฤษได้คือการที่ให้พวกเขาระบุคำที่พวกเขาต้องการจะฟังโดยการเน้นที่เสียงในประโยคด้วยเน้นเสียงให้ดังขึ้น หรือลากเสียงให้ยาวกว่าปกติ (Case.  2008  :  Web Site) นอกเหนือจากปัญหาการคิดที่ซับซ้อนยุ่งยากกับสิ่งอื่นๆและการหาคำที่ขาดหายไป สาเหตุที่พบบ่อยสุดก็คือ ทำไมนักเรียนไม่สามารถจำแนกคำได้  ซึ่งสาเหตุก็จะรวมไปถึงการไม่สามารถแยกคำระหว่างเสียงที่ต่างกันในภาษาอังกฤษ เช่น        (/l/และ/r/)  ใน  (“led”)  และ  (“red”) หรือในอีกทางหนึ่งก็คือการใช้ความพยามในการฟังที่จะแยกความแตกต่างของเสียงที่ไม่ใช่คำเดียวกันหรืออาจไม่ทราบคำที่ได้ยิน เช่นคำว่า “there” “their” และ  “they’re” ซึ่งคำเหล่าออกเสียงเหมือนกัน ส่วนสาเหตุอื่นๆที่ทำให้นักเรียนมีปัญหาในด้านการฟังคือ  การเน้นเสียงของคำ เสียงประโยค และการเปลี่ยนคำ เมื่อการพูดคำๆนั้นขึ้นก็จะเป็นไปตามธรรมชาติ  เนื่องจากคำศัพท์ แต่คำมีเสียงหนักเบาแตกต่างกันไป สิ่งทั้งหมดที่ว่านั้นจะเป็นการลดความสามารถการออกเสียงของนักเรียน ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการสร้างการความเข้าใจในทักษะการฟัง (Case.  2008  :  Web Site)
                  โดยทั่วไปเรามักจะฟังเพื่อจดจำเสียงจากเสียงที่เราได้ยินในโทรศัพท์ แม้แต่เสียงของผู้หญิงในร้านค้าหรือเสียงหนุ่มสาวที่นั่งอยู่ด้านหลังของเราในรถโดยสาร โดยปกติเจ้าของภาษาจากทุกภาษาจะพบเหตุการณ์เหล่านี้ และในทุกๆสถานการณ์ที่ได้ฟังจะดำเนินไปโดยไม่มีการคิดอย่างสติ ไม่ใช่แค่เพียงผู้เรียนภาษาที่สองเท่านั้น ผู้เรียนแต่ละภาษายังสามารถพิสูจน์สิ่งที่ท้าทายสำหรับพวกเขา      ซึ่งอาจจะล้มเหลวหรือประสบผลสำเร็จได้ทั้งนั้น แต่ละสิ่งที่กล่าวมานั้นก็ถือว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญของพวกเขาด้วย การบันทึกอนุทินช่วยสนับสนุนการฟังให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในหลากหลายสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน (Matsumoto.  1996  :  Web  Site) นักเรียนและครูสามารถมองเห็นถึงเป้าหมายของการฟัง เพื่อเป็นการให้นักเรียนได้ฝึกฝนการใช้ทักษะได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้แล้วนักเรียนยังได้ฟังสิ่งที่ตัวเองสนใจและสื่อทางวิชาการของครูอีกด้วย หลังจากนั้นจึงมีการบันทึกหลังจากการฟังจากสถานการณ์ต่างๆได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการบันทึกปัญหาการฟังจึงเหมาะกับหลากหลายรูปแบบของการเรียนรู้ (Cotterall.  2000  :  116)
                     ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่าหนึ่งครั้งสำหรับนักเรียนที่พูดภาษาต่างประเทศเป็นประจำคือ เมื่อได้ยินเสียงคำศัพท์แล้วจำความหมายหรือคำศัพท์นั้นได้เพียงครึ่งเดียวจึงต้องหาส่วนที่หายไปเพื่อให้สามารถจำคำศัพท์หรือความหมายได้อย่างสมบูรณ์ แต่จะเกิดขึ้นบ่อยกับคำที่มีเสียงคล้ายคลึงกับบางคำในภาษาที่หนึ่งก่อนที่จะคาดเดาว่าความหมายของคำนั้น ครูสามารถขจัดปัญหานี้ออกไปได้โดยการสอนคำศัพท์ก่อนที่จะฟังและการให้โอกาสนักเรียนในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อเดียวกับที่ฟัง เพื่อนำเข้าสู่ประเด็นของคำศัพท์สำหรับหัวข้อเรื่องที่ใกล้เคียงมากขึ้นกับความคิดของนักเรียน โดยสามารถใช้การฟังแบบแยกออกเป็นส่วนสั้นๆหรือใช้การกดปุ่มหยุดเสียง เพื่อให้สมองของนักเรียนได้มีการจับเสียง (Cotterall.  2000  :  116) พบว่าการบันทึกอนุทินหลังการฟังเป็นการสะท้อนระดับความยากง่ายและเหตุผลของปัญหาจากสิ่งที่นักเรียนได้ฟัง ซึ่งช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีประสิทธิผลในการฟังมากยิ่งขึ้นในครั้งต่อไปจึงจะกล่าวได้ว่า การบันทึกอนุทินนี้เป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนรู้แบบอิสระ หลังจากการทดลองใช้วิธีนี้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงได้แนะนำให้มีการบันทึกอนุทินทบทวนการฟังหลังจากการทำงานเดี่ยวและเก็บใบงานคืนเพื่อนักเรียนจะได้ทราบข้อผิดพลาดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก (Cotterall.  2000  :  Web  Site)
                  การจัดการเรียนการสอนโดยนักเรียนบันทึกอนุทินเพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ของตนเอง  เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในห้องเรียน เพื่อฝึกให้นักเรียนสามารถประเมินกระบวนการคิดของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง เกิดจากการบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆเป็นการสะท้อนระดับความยากง่ายและเหตุผลของปัญหาจากสิ่งที่นักเรียนได้ฟัง ซึ่งช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีประสิทธิผลในการฟังมากยิ่งขึ้นในการฟังครั้งต่อไป ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบอิสระ (Cotterall.  2000  :  116) และที่สำคัญคือการบันทึกอนุทินเป็นส่วนหนึ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดการสะท้อนความรู้ที่ได้รับจากการฟัง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นมากที่สุดของการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Cotteral.  2000  :  6)  ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนพัฒนาทั้งด้านภาษาและวิธีการเรียนรู้ด้านภาษาด้วย เหตุผลหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักเรียนคือ การเขียนเพื่อสะท้อนสิ่งที่ได้ฟัง     เพื่อส่งเสริมการสังเกต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววิธีการนี้จะถูกยอมรับว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาด้านภาษา ด้านทักษะ และกลวิธีของการเรียนรู้ (Kemp.  2010  :  387)                                                                                 
ดังนั้นกลุ่มผู้วิจัยจึงเห็นว่าการบันทึกการฟังโดยการบันทึกอนุทินนั้น คือนักเรียนสามารถพัฒนาความคิดอภิปัญญาและทักษะการฟัง ซึ่งเป็นวิธีพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองเพราะว่านักเรียนได้บันทึกปัญหาต่างๆจากการฟัง นักเรียนจะต้องฟังและปฏิบัติจนให้เกิดความเคยชิน เพื่อที่จะให้นักเรียนสามารถความคิดระดับอภิญญาปัญญาและทักษะการฟัง โดยการสะท้อนตนเองจากการบันทึกอนุทิน  (Kemp.  2010  :  388-390) ซึ่งการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยวิธีอิสระจะช่วยให้นักเรียนพัฒนาความสามารถในการฟัง และส่งผลในทักษะฟังของนักเรียนเกิดประสิทธิผล (Xian.  2005  :  Web  Site) ซึ่งการบันทึกอนุทินเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนตระหนักถึงการฟังและสามารถใช้ประโยชน์จากการฟังในหลากหลายสถานการณ์ได้อย่างดียิ่งขึ้น โดยให้นักเรียนเลือกหัวข้อหรืองานที่ได้รับมอบหมายจากสิ่งที่ตนเองสนใจ แล้วบันทึกสิ่งที่แต่ละคนฟังตามรูปแบบของตนเอง ซึ่งนักเรียนจะได้รับการส่งเสริมให้มีการทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมโดยใช้วีธีการเรียนรู้ในรูปแบบอิสระ การเรียนในรูปแบบนี้จะทำให้นักเรียนจะสามารถเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติได้ดีขึ้น (Kemp.  2010  :  Web  Site)
ความมุ่งหมายของงานวิจัย
                1. ศึกษาประสิทธิภาพของการทำกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้ล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                2. ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้ล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
             3.     ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการฟังก่อน - หลังการทำกิจกรรมการพัฒนาทักษะ  การฟังโดยใช้ล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  4.    ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ความสำคัญของการวิจัย
         1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รับการพัฒนาทักษะการฟังให้ดีขึ้น
         2. เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ล็อค
         3. เพื่อจะได้ทราบข้อมูลสรุปเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ล็อค
ขอบเขตของการวิจัย


        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลอง (Experimental
Research) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบ One group pretest–post-test  design โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
  1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
   1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวิชานุกูล  อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 
   1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนมหาวิชานุกูล        อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling)
  2. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเลือกจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ 2551
   2.1 Unit: Interest/Opinions
     Topic: Media
    Sup–Topic: TV
    มีจำนวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
   2.2 Unit: Culture
     Topic: Local stories
     Sup-Topic: Local history
     มีจำนวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
   2.3 Unit: Health
     Topic: Food   
     มีจำนวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
   2.4 Unit: Place (community)
     Topic: transportation
     มีจำนวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
สมมุติฐาน
 ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน หลังจากใช้ล็อคในการเรียนการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ


ตัวแปรที่ศึกษา 
 ตัวแปรอิสระ คือ    ล็อค
  ตัวแปรตาม คือ    ทักษะการฟัง


นิยามคำศัพท์เฉพาะ
 1. ล็อค หมายถึง รูปแบบการบันทึกอนุทินหลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนในชั้นเรียนเพื่อสะท้อนผลการฟัง และบันทึกความเปลี่ยนแปลงของตนเองในแต่ละครั้งหลังการเรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาในด้านทักษะการฟังควบคู่ไปกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
   2. ทักษะการฟัง หมายถึง ความสามารถในการจำแนกข้อมูลให้สอดคล้องกับเสียงบทความที่ได้ฟังที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ในแผนการเรียนรู้ทั้ง 4 แผนให้ถูกต้องคือฟังเพื่อจับใจความสำคัญ ฟังเพื่อจำแนกเนื้อหา และฟังเพื่อหาข้อโต้แย้งหรือคล้อยตาม 
  3. การเรียนรู้ด้วยตนเอง หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการวางแผนและตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการสะท้อนพฤติกรรมการเรียนรู้ของตนเองจากการบันทึกอนุทิน เนื้อหาในการบันทึกอนุทินนั้นจะเป็นการบันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเอง เช่น การบันทึกปัญหาต่างๆจากการฟังเพื่อที่ผู้เรียนจะได้นำผลจากการบันทึกไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาความสามารถในการฟังให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

  บทที่ 2
     เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

        ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้
             1. เอกสารที่เกี่ยวข้อง
                1.1  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และ 2551
                 1.2  ทักษะการฟัง
                1.3  ล็อค
                1.4  การเรียนรู้โดยอัตโนมัติ
             2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                2.1 งานวิจัยในประเทศ
                2.2 งานวิจัยต่างประเทศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
          กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ (2551  :   220-243) ได้จัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ขึ้นสำหรับท้องถิ่นและสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
          กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
             1. ทำไมต้องเรียนภาษาต่างประเทศ
                ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้       การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้ และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง            มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศและใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึง     องค์ความรู้ต่างๆได้ง่ายและกว้างขึ้นและมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต ภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระ        การเรียนรู้พื้นฐานซึ่งกำหนดให้เรียนตลอดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ ภาษาอังกฤษ                   ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น อาหรับ บาลี และภาษากลุ่มประเทศ   เพื่อนบ้านหรือภาษาอื่นๆให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะจัดทำรายวิชาและจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม
             2. เรียนรู้อะไรในภาษาต่างประเทศ
                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นรวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรม อันหลากหลายของประชาคมโลกและสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์  ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
                  1. ภาษาเพื่อการสื่อสารการใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นำเสนอข้อมูลความคิดรวบยอดและความ-คิดเห็นในเรื่องต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม
                 2. ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาความสัมพันธ์ ความเหมือน ความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษา   และวัฒนธรรมไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม
                 3. ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นการใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้และเปิดโลกทัศน์ของตน
                 4. ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลกการใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ ต่างๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
             3. คุณภาพผู้เรียน
                จบชั้นประถมศึกษาปีที่  3
                 1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องที่ฟัง อ่านออกเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยคง่ายๆ  และบทพูดเข้าจังหวะง่ายๆถูกต้องตามหลักการอ่าน บอกความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟังตรงตามความหมาย ตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านประโยคบทสนทนาหรือนิทานง่ายๆ
                2. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆง่ายๆในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำสั่งและคำขอร้องง่ายๆ บอกความต้องการง่ายๆของตนเอง พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเพื่อนบอกความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆใกล้ตัวหรือกิจกรรมต่างๆตามแบบที่ฟัง
                3. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว จัดหมวดหมู่คำตามประเภทของบุคคล สัตว์  และสิ่งของตามที่ฟังหรืออ่าน
                4. พูดและทำท่าประกอบตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาบอกชื่อและคำศัพท์ง่ายๆเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะกับวัย
                5. บอกความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ และประโยคง่ายๆของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย
                6. บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
                7. ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่ายๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน
                8. ใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัว
                9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด) สื่อสารตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการภายใน       วงคำศัพท์ประมาณ 300-450คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรม)
                10. ใช้ประโยคคำเดียว (One Word Sentence) ประโยคเดี่ยว (Simple Sentence) ในการสนทนาโต้ตอบตามสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน
                จบชั้นประถมศึกษาปีที่  6
                   1.  ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องและคำแนะนำที่ฟังและอ่าน อ่านออกเสียงประโยค ข้อความ นิทานและบทกลอนสั้นๆถูกต้องตามหลักการอ่านเลือก/ระบุประโยคและข้อความตรงตามความหมายของสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่อ่าน บอกใจความสำคัญและตอบคำถามจากการฟังและอ่าน บทสนทนา นิทานง่ายๆและเรื่องเล่า
                   2.  พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคลใช้คำสั่ง คำขอร้องและให้คำแนะนำ พูด/เขียนแสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว พูด/เขียนแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องต่างๆใกล้ตัว กิจกรรมต่างๆพร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ
                   3. พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อนและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เขียนภาพแผนผัง แผนภูมิ และตารางแสดงข้อมูลต่างๆที่ฟังและอ่าน พูด/เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆใกล้ตัว
                    4.  ใช้ถ้อยคำน้ำเสียงและกิริยาท่าทางอย่างสุภาพเหมาะสมตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง/ชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ
                   5.  บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทยเปรียบเทียบความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาล งานฉลองและประเพณีของเจ้าของภาษากับของไทย
                     6. ค้นคว้า รวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้  และนำเสนอด้วยการพูด/การเขียน
                   7.  ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษา
                   8.  ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่างๆ
                   9.  มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) สื่อสารตามหัว-เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขายและลมฟ้าอากาศภายในวงคำศัพท์ประมาณ 1,050-1,200 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม)
                     10. ใช้ประโยคเดี่ยวและประโยคผสม (Compound Sentences) สื่อความหมายตามบริบทต่าง ๆ
                จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
                   1. ปฏิบัติตามคำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายที่ฟังและอ่านอ่านออกเสียงข้อความ ข่าว โฆษณา นิทาน และบทร้อยกรองสั้นๆถูกต้องตามหลักการอ่านระบุ/เขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆสัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังหรืออ่านเลือก/ระบุหัวข้อเรื่อง ใจความสำคัญ รายละเอียดสนับสนุน และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
                   2. สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องต่างๆใกล้ตัว สถานการณ์  ข่าว เรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคมและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมใช้คำขอร้อง คำชี้แจง  และคำอธิบาย ให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม พูดและเขียนแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย  เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่านอย่างเหมาะสม พูดและเขียนบรรยายความรู้สึกและความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ กิจกรรม ประสบการณ์ และข่าว/เหตุการณ์  พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบอย่างเหมาะสม
                   3. พูดและเขียนบรรยายเกี่ยวกับตนเอง ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์/เรื่อง/ประเด็นต่างๆที่อยู่ในความสนใจของสังคม พูดและเขียนสรุปใจความสำคัญ/แก่นสาระ หัวข้อเรื่องที่ได้จากการวิเคราะห์เรื่อง/ข่าว/เหตุการณ์/สถานการณ์ที่อยู่ในความสนใจ พูดและเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์ และเหตุการณ์พร้อมให้เหตุผลประกอบ
                   4. เลือกใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับบุคคลและโอกาสตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาอธิบายเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้าของภาษาเข้าร่วม/จัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ
                   5. เปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆและการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทยเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม
                   6. ค้นคว้า รวบรวมและสรุปข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ และนำเสนอด้วยการพูดและการเขียน
                   7. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียนสถานศึกษาชุมชน และสังคม
                   8. ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวมและสรุปความรู้/ข้อมูลต่างๆ  จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ข้อมูล  ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่นเป็นภาษาต่างประเทศ
                   9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) สื่อสารตามหัว-เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้าอากาศ การศึกษาและอาชีพ การเดินทางท่องเที่ยวการบริการ สถานที่ ภาษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในวงคำศัพท์ประมาณ 2,100 - 2,250 คำ (คำศัพท์ที่เป็นนามธรรมมากขึ้น)
                   10. ใช้ประโยคผสมและประโยคซับซ้อน (Complex Sentences) สื่อความหมายตามบริบทต่างๆ ในการสนทนาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
                จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6
                   1. ปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือการใช้งานต่างๆ คำชี้แจง คำอธิบายและคำบรรยายที่ฟังและอ่าน อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ โฆษณา บทร้อยกรองและบทละครสั้นถูกต้องตามหลักการอ่าน อธิบายและเขียนประโยคและข้อความสัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆที่อ่าน รวมทั้งระบุและเขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ สัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังหรืออ่าน จับใจความสำคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการฟังและอ่านเรื่องที่เป็นสารคดีและบันเทิงคดีพร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
                   2. สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องต่างๆใกล้ตัว  ประสบการณ์ สถานการณ์ข่าว/เหตุการณ์ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เลือกและใช้คำขอร้อง คำชี้แจง คำอธิบาย และให้คำแนะนำ พูดและเขียนแสดงความต้องการ  เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์จริงอย่างเหมาะสม พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย เปรียบเทียบ           และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง/ประเด็น/ข่าว/เหตุการณ์ที่ฟังและอ่านอย่างเหมาะสม พูดและเขียนบรรยายความรู้สึกและแสดงความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ กิจกรรม ประสบการณ์               และข่าว/เหตุการณ์อย่างมีเหตุผล
                   3. พูดและเขียนนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง/ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์           เรื่องและประเด็นต่างๆตามความสนใจ พูดและเขียนสรุปใจความสำคัญ แก่นสาระที่ได้จากการวิเคราะห์เรื่อง  กิจกรรม ข่าว เหตุการณ์ และสถานการณ์ตามความสนใจ พูดและเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์ และเหตุการณ์ทั้งในท้องถิ่น สังคม และโลกพร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
                   4. เลือกใช้ภาษาน้ำเสียงและกิริยาท่าทางเหมาะกับระดับของบุคคล เวลา โอกาสและสถานที่ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา อธิบาย/อภิปรายวิถีชีวิต ความคิด  ความเชื่อ และที่มาของขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้าของภาษา เข้าร่วม แนะนำ และจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมอย่างเหมาะสม
                   5. อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค ข้อความ สำนวน    คำพังเพย สุภาษิต และบทกลอนของภาษาต่างประเทศและภาษาไทยวิเคราะห์/อภิปรายความเหมือน และความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิตความเชื่อ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย และนำไปใช้อย่างมีเหตุผล
                   6. ค้นคว้า/สืบค้น บันทึก สรุป และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และนำเสนอด้วยการพูดและการเขียน
                   7. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียนสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
                   8. ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์และสรุปความรู้/ข้อมูลต่างๆจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น/ประเทศชาติเป็นภาษาต่างประเทศ
                   9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) สื่อสารตาม              หัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้าอากาศ การศึกษาและอาชีพ               การเดินทางท่องเที่ยว การบริการ สถานที่ ภาษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในวงคำศัพท์ประมาณ  3,600 - 3,750 คำ (คำศัพท์ที่มีระดับการใช้แตกต่างกัน)
                   10. ใช้ประโยคผสมและประโยคซับซ้อนสื่อความหมายตามบริบทต่างๆ ในการสนทนาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
             4. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
                สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
                   มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
                   มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
                   มาตรฐาน ต 1.3 การพูดและการเขียน
                สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
                   มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
                   มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
                สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
                   มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
                สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
                   มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาชุมชนและสังคม
                   มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อการประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
             5. ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                 สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
                   มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
                      ต 1.1.1 ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ และคำชี้แจงง่ายๆที่ฟังและอ่าน
                      ต 1.1.2 อ่านออกเสียงข้อความ นิทาน และบทร้อยกรอง (poem) สั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน
                            ต 1.1.3 เลือก/ระบุประโยคและข้อความให้สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียง (non-text information)
                          ต 1.1.4 ระบุหัวข้อเรื่อง (topic) ใจความสำคัญ (main idea) และตอบคำถามจากการฟังและอ่านบทสนทนา นิทาน และเรื่องสั้น
                   มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
                      ต 1.2.1 สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง กิจกรรม และสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน                                                                      
                      ต 1.2.2 ใช้คำขอร้อง ให้คำแนะนำ และคำชี้แจงตามสถานการณ์
                      ต 1.2.3 พูดและเขียนแสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆอย่างเหมาะสม
                      ต 1.2.4 พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่านอย่างเหมาะสม
                      ต 1.2.5 พูดและเขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับ            เรื่องต่างๆใกล้ตัว กิจกรรมต่างๆพร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบอย่างเหมาะสม
                   มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสารความคิดรวบยอดและความคิดเห็นใน          เรื่องต่างๆโดยการพูดและการเขียน
                      ต 1.3.1 พูดและเขียนบรรยายเกี่ยวกับตนเอง กิจวัตรประจำวันประสบการณ์  และและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว
                      ต 1.3.2 พูดและเขียนสรุปใจความสำคัญ/แก่นสาระหัวข้อเรื่อง (theme) ที่ได้จากการวิเคราะห์เรื่อง/เหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของสังคม
                      ต 1.3.3 พูด/เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมหรือเรื่องต่างๆใกล้ตัวพร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ
                สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
                   มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาและนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
                      ต 2.1.1 ใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่าทางสุภาพเหมาะตามมารยาทสังคม  และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
                      ต 2.1.2 บรรยายเกี่ยวกับเทศกาล วันสำคัญ ชีวิตความเป็นอยู่ และประเพณีของเจ้าของภาษา
                      ต 2.1.3 เข้าร่วม/จัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ
                   มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
                      ต 2.2.1 บอกความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย
                      ต 2.2.2 เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างเทศกาลงานฉลองวันสำคัญ และชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษากับของไทย
                สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
                   มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับสาระการเรียนรู้อื่นและเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
                      ต 3.1.1 ค้นคว้า รวบรวมและสรุปข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระ           การเรียนรู้อื่นจากแหล่งเรียนรู้ และนำเสนอด้วยการพูด/การเขียน
                สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนโลก       
                   มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆทั้งในสถานศึกษาชุมชน และสังคม
                      ต 4.1.1 ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และสถานศึกษา
                   มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
                      ต 4.2.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า ความรู้/ข้อมูลต่างๆจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ
              6. คำอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
บทที่  3
วิธีการดำเนินการวิจัย

          การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษและการเรียนรู้โดย อัตโนมัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวิชานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามโดยใช้ล็อค ซึ่งกลุ่มผู้วิจัยมีวิธีการวิจัยดังต่อไปนี้
             1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
             2. เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
             3. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
             4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
             5. การวิเคราะห์ข้อมูล
             6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (One group pretest–post-test design) โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
             1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวิชานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
                1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนมหาวิชานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
             2. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย เลือกจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่สอดคล้องกับหลักสูตร     กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ 2551
                2.1 Unit: Interest/Opinion Topic: Media Sup –Topic: TV มีจำนวน 1 แผน           การสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                2.2 Unit: Culture Topic: Local stories Sup-Topic: Local history มีจำนวน            1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                2.3 Unit: Health Topic: Food มีจำนวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                 2.4 Unit: place (community) Topic: transportation มีจำนวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2ชั่วโมง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
             1. แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะฟังและการเรียนรู้อัตโนมัติโดยใช้ล็อค จำนวน 4 แผน    ใช้เวลาทั้งหมด8 ชั่วโมง
             2. แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษแบบปรนัยจำนวน 40 ข้อ
วิธีการสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
             1. การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้
                1.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และ 2551 สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การสอนการฟังภาษาอังกฤษ การใช้ล็อคในห้องเรียน งานวิจัยในประเทศและงานวิจัยต่างประเทศ
                1.2 คัดเลือกเนื้อหาสอดคล้องกับ Unit: Interest/Opinion Topic: Media Sup –Topic: TV Unit: Culture Topic: Local stories Sup-Topic: Local history Unit: Health Topic: Food และ Unit: place(community) Topic: transportation
เพื่อนำมาใช้ออกแบบในการสอนการฟัง
                1.3 สร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษและการเรียนรู้อัตโนมัติโดยใช้ล็อคจำนวน 4 แผน รวม 8 ชั่วโมง
                1.4 นำเสนอแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะฟังภาษาอังกฤษและการเรียนรู้อัตโนมัติโดยใช้ล็อคต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและครอบคลุมเนื้อหา รูปแบบ หลักการ และการแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
                1.5 แก้ไข ปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา
                1.6 นำแผนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาไปทดลองใช้ (Try-out) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบด้านเวลาและเนื้อหา
   1.7 ปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
                1.8 นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนมหาวิชานุกูล
             2. การสร้างแบบทดสอบทักษะการฟัง
                2.1 ศึกษาระเบียบเกณฑ์การประเมินจากเอกสารเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
                2.2 วิเคราะห์เนื้อหาที่สอดคล้องกับ Unit และ Topic ทั้ง 4 แผนการเรียนรู้เพื่อสร้างแบบทดสอบจำนวน 40 ข้อ
                2.3 สร้างแบบทดสอบแบบปรนัยตาม Unit/topic ในแผนการเรียนรู้
                2.4 นำแบบทดสอบด้านความสามารถทักษะการฟังที่ผ่านการแก้ไขแล้วไปทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนมหาวิชานุกูล ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบความยากง่ายของแบบทดสอบ
                2.5 วิเคราะห์ความยากง่ายของแบบทดสอบและแก้ไขแบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะการฟัง
                2.6 นำแบบทดสอบการฟังที่ผ่านการแก้ไขแล้วไปใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนมหาวิชานุกูลทั้งก่อนและหลังการทดลอง

การเก็บรวบรวมข้อมูล
          การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ กลุ่มผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการเก็บรวบรวมวิจัย ดังนี้
             1. สอบก่อนเรียน (Pre-test) กับกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะการฟัง โดยการตอบคำถามแบบปรนัยจำนวน 40 ข้อ
             2. ดำเนินการสอนตามที่ใช้ในการสอนที่ได้จัดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 แผน แผนละ         2 ชั่วโมง
             3. สอบหลังเรียน (Post-test) เพื่อทดสอบความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่าง หลังผ่านการเรียนมาแล้ว

การวิเคราะห์ข้อมูล
   1. เพื่อหาประสิทธิภาพของการทำกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟังที่เรียนด้วยล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
             2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้ล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
             3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการฟังก่อน หลังการทำกิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้ล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
             4. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนทักษะการฟังด้วยล็อค
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อค           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเก่าวิทยานุกูล อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ จำนวนหนึ่งห้องเรียน  ใช้เวลาในการทดลอง 8 คาบ คาบละ 1 ชั่วโมง จำนวน 8 ชั่วโมง การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วน  ดังนี้
             ส่วนที่  1  วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของกิจกกรมการพัฒนาทักษะการฟัง โดยใช้ล็อค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
             ส่วนที่  2  วิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผลของแบบทดสอบการฟังโดยใช้ล็อค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
             ส่วนที่  3  วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนการฟังภาษาอังกฤษเฉลี่ยกลุ่มเดียวกันระหว่างก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test)  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
                                         ตัวอย่างแบบบันทึก ล็อคระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ

บทที่5 
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ


การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีขั้นตอนและผลของการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ความมุ่งหมายของการวิจัย
2. สรุปผลการวิจัย
3. อภิปรายผล
4. ข้อเสนอแนะ


ความมุ่งหมายของการวิจัย


1. ศึกษาประสิทธิภาพของการทำกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้ล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2. ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้ล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
            3.  ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการฟังก่อน - หลังการทำกิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้ล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4.  ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ล็อคเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่า 64.07/61.33 ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 70/70
2. ดัชนีประสิทธิภาพการใช้ล็อคเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสำหรับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 มีค่า  0.112 หรือคิดเป็นร้อยละ 11 แสดงว่าการพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11
3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในฟัง ก่อน-หลังการทำกิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าคะแนนสอบครั้งหลังสูงกว่าครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 
               4.  ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากผลการบันทึกอนุทินของนักเรียนสรุปด้งนี้
4.1 ล็อคกับการพัฒนาทักษะการฟัง จากการบันทึกอนุทินของนักเรียนพบว่า นักเรียนมีการพัฒนาทางทักษะการฟังมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการเรียนในชั้นเรียนช่วงแรกจะมีอุปสรรคในการฟังเนื่องจากความไม่คุ้นเคยเสียงเจ้าของภาษา เมื่อพบปัญหาในการฟังจากการบันทึกอนุทินนักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ทางภาษาของตนเองได้ นอกจากนี้ครูผู้สอนได้เรียนรู้พฤติกรรมของนักเรียนเป็นรายบุคคล 
4.2 ล็อคกับการพัฒนาตนเอง จากการบันทึกอนุทินของนักเรียนพบว่าล็อคเป็นรูปแบบของการบันทึกอนุทินเพื่อสะท้อนผลจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละวันในชั้นเรียนรวมทั้งได้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของตนเองแต่ละครั้งหลังการเรียน นอกจากนี้การบันทึกอนุทินยังช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทางด้านภาษาและการเรียนรู้ทางภาษาได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาภาษาและทักษะทางภาษาให้ดีขึ้น การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้จะสามารถตอบสนองความต้องการและเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนสามารถบันทึกสิ่งต่างๆจากการพบเห็นหรือสิ่งที่ผู้เรียนสงสัยโดยจดบันทึกลงในสมุดบันทึกของผู้เรียนเอง    และยิ่งไปกว่านั้นการบันทึกในแต่ละครั้งจะแสดงถึงการตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถบรรลุความสำเร็จตามที่ต้องการได้โดยการใช้คำถามในเรื่องที่สงสัยและเชื่อมโยงการเข้าสู่ระบบการเรียนรู้จากกระบวนการคิดและสามารถฝึกฝนกับทักษะกระบวนการเรียนรู้โดยมีการบันทึกผลการเรียนซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้นักเรียนเตรียมตัวสำหรับการศึกษาในระดับสูงต่อไปได้ และสิ่งสำคัญที่สุดในการบันทึกการเรียนรู้คือการสะท้อนเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน


อภิปรายผลการวิจัย


จากผลการศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประเด็นที่นำมาอภิปรายผลได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีคะแนนระหว่างเรียนจากแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แผน  คิดเป็นร้อยละ 90.22  คะแนนหลังเรียนคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 38.03 และประสิทธิภาพของกิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อค 64.07/61.33  ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้เนื่องมาจากนักเรียนขาดความคุ้นเคยกับการฟังเสียงภาษาจากเจ้าของภาษา จึงเกิดความกังวลและความตื่นเต้นขณะทำกิจกรรมเกี่ยวกับการฟังซึ่งเป็นสิ่งค่อนข้างยาก ซึ่งสอดคล้องกับ โรส (Rost.  2011  :  11) กล่าวว่า การสอนการฟังมีความสัมพันธ์กับการเลือกเนื้อหาที่จะนำไปสอนซึ่งอาจจะเป็นสื่อที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน การบันทึกเสียงเทปหรือวีดีโออาจจะถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วนสำหรับการนำไปสอนและการเวียนกันทำกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมภายในห้อง ซึ่ง-มีปัจจัยที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสอนคือการใส่ใจในการเลือกเนื้อหาที่นำมาสอนโดยให้มีความเหมาะสมกับนักเรียนมีความน่าสนใจมีความหลากหลายและท้าทาย อีกทั้งการออกแบบกิจกรรมที่มีความสร้างสรรค์และมีโครงสร้างที่ถูกต้อง ต่อมาเปิดโอกาสให้นักเรียนได้กระตุ้นการเรียนรู้ประสบการณ์ของตนเองและมีการสังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียนอีกด้วย การช่วยเหลือนักเรียนภายในห้องเรียนจะช่วยให้นักเรียนสามารถแสดงศักยภาพในการฟังของตนเองหลากหลายด้านเช่น ด้านอภิปัญญา  ความรู้ความเข้าใจ และสังคม การบูรณาการการฟังให้เข้ากับทักษะอื่นๆเช่น ทักษะพูด ทักษะการอ่าน  และทักษะการเขียน การทบทวนส่วนนี้เป็นอีกส่วนสำคัญในข้อเสนอที่ถูกตั้งขึ้นจากสาเหตุความกังวลเกี่ยวกับการสอนการฟังของนักเรียน ซึ่งประกอบกับสิ่งแวดล้อมไม่อำนวยต่อการฟังของนักเรียน เช่น เสียงจากภายนอกห้องเรียนเกินไป สื่อการเรียนการสอนไม่มีความพร้อมต่อการเรียนรู้ต่อนักเรียน ทำให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะการฟังเสียงจากของเจ้าของภาษาได้เต็มที่ อีกทั้งสื่อการเรียนเป็นสื่อที่แปลกใหม่สำหรับผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดความกังวลและตื่นเต้นเกิดความ  
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบทดสอบการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่า 0.112 หรือคิดเป็นร้อยละ 11 แสดงว่าการพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 โดยการทำกิจกรรมการฟังที่หลากหลายและบันทึกการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างอิสระ การบันทึกประจำวันและการบันทึกการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มการสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนและต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับเคมป์ (Kemp.  2010  :  387) กล่าวว่าล็อคหมายถึงรูปแบบของการบันทึกอนุทินเพื่อสะท้อนผลของการฟังหลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนในชั้นเรียนและดูความเปลี่ยนแปลงของตนเองแต่ละครั้งหลังการฟัง นอกจากนี้เคมป์ยักล่าวอีกว่าการบันทึกอนุทินยังช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทางด้านภาษาและการเรียนรู้ทางภาษาได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาภาษาและทักษะทางภาษาให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับแมคโดนอช์ล (McDonough.  1997  :  121) กล่าวถึงล็อคกับการเรียนรู้ภาษาไว้ว่าเป็นการเขียนบันทึกการเรียนรู้ประจำวันเป็นกระบวนการเขียนบรรยายที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย  การบันทึกรูปแบบนี้มักถูกระบุให้มีบทบาทสำคัญในการสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล ในด้านการศึกษาและด้านการสอนภาษาอังกฤษนั้นการบันทึกประจำวันและการบันทึกการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มการสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น การบันทึกการเรียนรู้และการบันทึกประจำวันจะเป็นการบรรยายในมุมมองของนักเรียนแต่ละคนที่เชื่อมโยงไปทั้งการเรียนรู้ทางภาษาและประสบการณ์การเรียนการสอน โดยวิธีการเขียนก็จะเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ หรือแม้แต่การสะท้อนผลหลังจากที่มีประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆก็สามารถบันทึกลงไปได้ อีกทั้งสอดคล้องกับ มิลเลอร์, ทอมลินสันและโจนส์ (Miller, Tomlinson  and  Jones.  1994  :  Web  Site) กล่าวถึงการบันทึกการเรียนรู้กับภาษาไว้ว่าการบันทึกการเรียนรู้เป็นลักษณะของการจดบันทึกประจำวันที่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ภาษา โครงสร้าง สะท้อนพฤติกรรมของตนเอง และยังช่วยในการวางแผนการทำงานได้ อีกทั้งการบันทึกการเรียนรู้ยังเป็นการฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเองและการพัฒนาทักษะในด้านภาษา ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การจดบันทึกกับสิ่งที่ได้ทำเท่านั้นแต่ยังเป็นการบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ ความพยายามหรือแม้แต่ปัญหาต่างๆที่ได้พบ
   ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของเครือวัลย์ รอดไฝ (2551:  บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับผลของการเขียนบันทึกการเรียนรู้ต่างชนิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและความคงทนของการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนที่เรียนโดยใช้การเขียนบันทึกการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานสูงกว่าก่อนเรียน สาเหตุดังกล่าวอาจมาจากการที่นักเรียนได้เขียนบันทึกการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นบันทึกการเรียนรู้ประเภทส่วนบุคคล (Personal  journals) หรือประเภทการเขียนบันทึกการเรียนรู้ (Learning  log) ต่างเป็นการเขียนบันทึกการเรียนรู้ที่ใช้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของผู้เขียนโดยผู้เขียนเลือกบันทึกหัวข้อต่างๆตามความสนใจ และเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างๆช่วยให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมที่นักเรียนมีอยู่  นักเรียนที่เรียนโดยใช้การเขียนบันทึกการเรียนรู้ต่างชนิดกันมีความคงทนของการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานแตกต่างกัน การที่ผลการศึกษาเป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าการเขียนบันทึกการเรียนรู้เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนใช้ความคิดทบทวนในสิ่งที่เรียนมาโดยให้เขียนได้อย่างอิสระรวมไปถึงการแสดงความรู้สึกในการเรียนทำให้นักเรียนรู้สึกไว้ใจผู้สอนไม่รู้สึกถูกกดดันในการเรียน 
 3. การเปรียบเทียบคะแนนการฟังภาษาอังกฤษเฉลี่ยกลุ่มเดียวกันระหว่างก่อนเรียน (pre-test)  และหลังเรียน (post-test) พบว่าผลรวมของคะแนนสอบครั้งหลังเรียนสูงกว่าผลรวม คะแนนสอบก่อนเรียนซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลังจากการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อคแล้วนักเรียนมีทักษะการฟังเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้เนื่องจากการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ล็อคทำให้ผู้เรียนเกิดเจตนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและเกิดแรงจูงใจในการฟังภาษาอังกฤษซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เคมป์ (Kemp.  2010  :  Web  Site) ซึ่งได้ทำการศึกษาเชิงปฏิบัติกับการพัฒนาความสามารถในการฟังของนักเรียนแลกเปลี่ยนในมหาวิทยาลัยเลสเตอร์โดยใช้ล็อค จำนวน 45 คน ที่ประเทศอังกฤษ      โดยมีจุดมุ่งหมายในการวิจัยเพื่อ (1) เพื่อเป็นการระบุปัญหาระหว่างการฟังและการวิเคราะห์เนื้อหาหลังจากการฟังได้ซึ่งสามารถนำปัญหาไปหาวิธีการแก้ไขได้ถูกต้อง (2) เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาทักษะการ-ฟัง (3) เพื่อจะได้ทราบข้อมูลสรุปเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ตามความมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้การบันทึกการฟังโดยใช้ล็อคเป็นวิธีพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้โดยอัตโนมัติเพราะว่านักเรียนได้บันทึกปัญหาต่างๆจากการฟัง นักเรียนจะต้องฟังและปฏิบัติจนให้เกิดความเคยชิน นักเรียนได้รับมอบหมายให้มีการบันทึกการฟังโดยการใช้ล็อคเป็นเวลา 8 สัปดาห์และมีการบันทึกจากการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
         4.  ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากผลการบันทึกอนุทินของนักเรียนสรุปด้งนี้
 4.1 ล็อคกับการพัฒนาทักษะการฟัง 
      จากการบันทึกอนุทินของนักเรียนพบว่า นักเรียนมีการพัฒนาทางทักษะการฟังมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการเรียนในชั้นเรียนช่วงแรกจะมีอุปสรรคในการฟังเนื่องจากความไม่คุ้นเคยเสียงเจ้าของภาษา เมื่อพบปัญหาในการฟังจากการบันทึกอนุทินนักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ทางภาษาของตนเองได้ นอกจากนี้ครูผู้สอนได้เรียนรู้พฤติกรรมของนักเรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีล็อคกับการเรียนรู้ภาษาของ แมคโดนอช์ล (McDonough.  1997  :  127) ได้กล่าวไว้ว่า การบันทึกการเรียนรู้ไว้ว่า วิธีการเรียนการสอนในปัจจุบันได้ถือว่าเป็นการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนโดยใช้วิธีการถามและตอบคำถามต่างๆระหว่างครูและนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมีการรวบรวมผลการบันทึกในรูปแบบของ การบันทึกประจำวัน การเรียนในลักษณะนี้อาจจะมีอุปสรรคในการเรียนรู้แบบรายบุคคลหรือการเรียนรู้ในรูปแบบการเรียนอิสระเช่น การทนฟังการเรียนรู้สิ่งใหม่หรือการจำใจทำในสิ่งที่ไม่ชอบซึ่งมีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวนักเรียน การบันทึกการเรียนรู้อาศัยความสมัครใจและความต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานของผู้เรียน
4.2 ล็อคกับการพัฒนาตนเอง 
                       จากการบันทึกอนุทินของนักเรียนพบว่าล็อคเป็นรูปแบบของการบันทึกอนุทินเพื่อสะท้อนผลจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละวันในชั้นเรียนรวมทั้งได้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของตนเองแต่ละครั้งหลังการเรียน นอกจากนี้การบันทึกอนุทินยังช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทางด้านภาษาและการเรียนรู้ทางภาษาได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาภาษาและทักษะทางภาษาให้ดีขึ้น การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้จะสามารถตอบสนองความต้องการและเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนสามารถบันทึกสิ่งต่างๆจากการพบเห็นหรือสิ่งที่ผู้เรียนสงสัยโดยจดบันทึกลงในสมุดบันทึกของผู้เรียนเอง และยิ่งไปกว่านั้นการบันทึกในแต่ละครั้งจะแสดงถึงการตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถบรรลุความสำเร็จตามที่ต้องการได้โดยการใช้คำถามในเรื่องที่สงสัยและเชื่อมโยงการเข้าสู่ระบบการเรียนรู้จากกระบวนการคิดและสามารถฝึกฝนกับทักษะกระบวนการเรียนรู้โดยมีการบันทึกผลการเรียนซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้นักเรียนเตรียมตัวสำหรับการศึกษาในระดับสูงต่อไปได้ และสิ่งสำคัญที่สุดในการบันทึกการเรียนรู้คือการสะท้อนเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน  ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ เคมป์ (Kemp.  2010  :  387) กล่าวไว้ว่าล็อคหมายถึงรูปแบบของการบันทึกอนุทินเพื่อสะท้อนผลของการเรียนรู้หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนในชั้นเรียนและดูความเปลี่ยนแปลงของตนเองแต่ละครั้ง นอกจากนี้เคมป์ยังกล่าวอีกว่าการบันทึกอนุทินยังช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทางด้านภาษาและการเรียนรู้ทางภาษาได้อีกด้วย  ซึ่งจะเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาภาษาและทักษะทางภาษาให้ดีมากยิ่งขึ้น


ข้อเสนอแนะ


1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1 ครูควรศึกษาความต้องการและความสนใจของนักเรียนก่อนที่จะนำล็อคมาใช้ในการพัฒนาทักษะทางด้านการฟังภาษาอังกฤษและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1.2 นักเรียนต้องใช้เวลานานในการบันทึกอนุทิน ดังนั้นครูจึงควรให้เวลาในการทำกิจกรรมให้เหมาะสม มีความต่อเนื่องและไม่เร่งรีบจนเกินไป นักเรียนจะรู้สึกสบายใจ และตั้งใจทำกิจกรรมมากขึ้น
1.3 ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนบันทึกอนุทินอย่างอิสระ
1.4 ครูควรใช้สื่อที่มีคุณภาพ เสียงจะต้องไม่ช้าหรือเร็วเกินไป ให้ดูความเหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียน
1.5 ครูควรมีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนประกอบกับการอ่านอนุทินของผู้เรียน


2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรทำการศึกษาเกี่ยวกับการพัมนาตนเองของผู้เรียนโดยการบันทึกอนุทินร่วมกับการบันทึกการสังเกตพฤติกรรม
2.2 ควรให้เวลาในการบันทึกอนุทินของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น